รูปแบบแท่งเทียน: เครื่องมือสำคัญในการเทรดดัชนี

Stanislav Bernukhov

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเทรดอาวุโสของ Exness

เริ่มเทรดเลย

ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ

แชร์

เคยสงสัยไหมว่าจะนำเครื่องมือการเทรดอย่างรูปแบบแท่งเทียนไปใช้กับการเทรดเครื่องมือทางการเงินต่างๆ อย่างไร บทความนี้จะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมือนี้สำหรับการเทรดดัชนีโดยเฉพาะ

ดัชนีหุ้นแตกต่างจากเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ที่ความมีเสถียรภาพ โดยแทบไม่มีความผันผวนสูง เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดการเงิน

อย่างไรก็ตาม รูปแบบแท่งเทียนมีบทบาทสำคัญในการเทรดดัชนีเช่นเดียวกับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ

ในคู่มือตลาดนี้ เราจะมาอธิบายรูปแบบแท่งเทียน 5 อันดับแรกที่นิยมใช้ในการเทรดดัชนี

  • รูปแบบ Bullish Engulfing
  • รูปแบบ Bearish Engulfing
  • รูปแบบแท่งเทียน Doji
  • รูปแบบ Hammer (Pin Bar)
  • รูปแบบ Shooting Star

นอกจากนี้ เราจะกล่าวถึงความเกี่ยวข้องในการเทรดดัชนีด้วย แต่ก่อนอื่น เรามาเริ่มทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานของการเทรดดัชนีกันก่อน

หลักการพื้นฐานของดัชนีหุ้น

โดยปกติแล้ว ดัชนีหุ้นเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายระยะสั้น ตั้งแต่ Scalper ไปจนถึงเทรดเดอร์รายวันและสวิงเทรดเดอร์ ดัชนีแตกต่างจากหุ้นที่สามารถเทรดได้ตลอดเวลา ทำให้ได้รับความสนใจจากเทรดเดอร์ในเขตเวลาสหรัฐฯ และเอเชีย รวมถึงยุโรป

ดัชนีหุ้นเป็นตัวแทนของตลาดหุ้นอย่างเป็นทางการในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา หมายความว่าหากคุณเป็นเทรดเดอร์ที่ต้องการเทรดดัชนี คุณสามารถเลือกดัชนีที่เหมาะสมกับเขตเวลาของคุณ แต่ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจความหมายของดัชนีหุ้นกันก่อน

ดัชนีหุ้นเป็นเหมือนกับกระดานจดคะแนนที่แสดงว่ากลุ่มหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้นทำได้ดีเพียงใดในตลาดการเงิน ซึ่งจะช่วยให้คุณทราบถึงผลการดำเนินงานของกลุ่มตลาดต่างๆ ด้วยการติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาภายในกลุ่มนั้นๆ อย่างไรก็ตาม คุณไม่สามารถเทรดดัชนีหุ้นได้โดยตรง

หากต้องการติดตามผลการดำเนินงานของดัชนี คุณสามารถเทรดออปชั่นและฟิวเจอร์สของดัชนีหุ้น หรือที่เรียกว่าตราสารอนุพันธ์ (ETD) กองทุนรวมดัชนี (ETF) หรือสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) สำหรับดัชนี

ประเภทของดัชนีหุ้นยอดนิยม

ทุกประเทศที่มีตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วมีดัชนีหุ้นเป็นของตนเอง ขณะที่ประเทศขนาดใหญ่จะดึงดูดเงินทุนและปริมาณการซื้อขายส่วนใหญ่จากทั่วโลก เรามาดูดัชนีหุ้นยอดนิยมสำหรับเทรดเดอร์กัน

ดัชนี S&P 500

ดัชนี Standard and Poor's 500 รวมเอาบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 อันดับแรกที่เทรดในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ดัชนีนี้ถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่ดีที่สุดสำหรับผลการดำเนินงานของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในการเทรด CFD ดัชนีนี้มีชื่อว่า US500

ดัชนี NASDAQ Composite

ดัชนี NASDAQ ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ ครอบคลุมบริษัทหลายพันแห่งที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก ดัชนีนี้ถือเป็นตัวแทนของบริษัทเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมากมายทั่วโลก ไม่เพียงแค่ในสหรัฐฯ สัญญา CFD ของดัชนีนี้ชื่อว่า USTEC

ดัชนี DAX

Deutscher Aktienindex หรือ DAX เป็นดัชนีตลาดหุ้นหลักของเยอรมนี ซึ่งติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 30 อันดับแรกที่เทรดในตลาดหุ้นแฟรงก์เฟิร์ต สัญญา CFD ของดัชนีนี้ชื่อว่า DE30

ดัชนี Nikkei 225

ดัชนี Nikkei 225 เป็นดัชนีหุ้นชั้นนำของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยบริษัท 225 แห่งที่เทรดในตลาดหุ้นโตเกียว ดัชนีนี้ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับสภาพเศรษฐกิจของญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อว่า JP225 ในตลาด CFD

รูปแบบแท่งเทียนสำหรับการเทรดดัชนี

รูปแบบแท่งเทียนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในโลกการเทรดดัชนี การแสดงความผันผวนของตลาดออกมาให้เห็นเป็นภาพสามารถช่วยให้คุณทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มและการกลับตัวของราคาที่อาจเกิดขึ้น รูปแบบแท่งเทียนเหล่านี้สามารถช่วยคาดการณ์ว่าความเชื่อมั่นของตลาดกำลังเปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นขาลง หรือขาลงเป็นขาขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยระบุระดับแนวรับและแนวต้านที่สำคัญ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลสำหรับกลยุทธ์การเทรดได้

ด้านล่างนี้ เราจะอธิบายรูปแบบแท่งเทียนที่ใช้บ่อย เช่น รูปแบบ Engulfing, Doji, Hammer และ Shooting Star โดยแต่ละรูปแบบจะแสดงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของตลาดที่แตกต่างกัน และอาจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเทรดดัชนีของคุณ

รูปแบบแท่งเทียนกลืนกิน (Engulfing)

รูปแบบ Engulfing เป็นรูปแบบแท่งเทียนที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อทำนายการกลับตัวของแนวโน้มราคาที่อาจเกิดขึ้น รูปแบบนี้ประกอบด้วยแท่งเทียนสองแท่ง และสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบแท่งเทียนขาขึ้นและรูปแบบแท่งเทียนขาลง

รูปแบบ Bullish Engulfing

รูปแบบ Bullish Engulfing แสดงถึงการกลับตัวจากขาลง สามเรื่องสำคัญที่คุณควรทราบเกี่ยวกับรูปแบบนี้คือ

  • แท่งเทียนแรกของรูปแบบขาขึ้นนี้คือแท่งเทียนขาลง (แท่งเทียนลง หรือ Downward Candle) แท่งเทียนขาลงนี้แสดงว่าผู้ขายเป็นผู้กำหนดทิศทาง
  • แท่งเทียนที่สองของรูปแบบนี้คือแท่งเทียนขาขึ้น (แท่งเทียนขึ้น หรือ Upward Candle) ที่ปกคลุมหรือ "กลืน" แท่งเทียนขาลงแท่งก่อนหน้าทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าราคาเปิดอยู่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดของแท่งเทียนแรกและปิดสูงกว่าจุดสูงสุดของแท่งเทียนแรก
  • รูปแบบนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นของตลาดจากขาลงเป็นขาขึ้น เนื่องจากเวลานี้ ในตลาดมีจำนวนผู้ซื้อมากกว่าผู้ขาย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณการสิ้นสุดของแนวโน้มขาลงและการเริ่มต้นแนวโน้มขาขึ้น

ประโยชน์ของรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยควรใช้รูปแบบนี้หากราคาถึงระดับแนวรับหนึ่ง ทั้งแบบคงที่และแปรผัน แนวรับคงที่คือระดับราคาที่คงที่ซึ่งเคยเป็นแนวรับมาก่อน ขณะที่แนวรับแปรผันอาจเป็นเส้นค่าเฉลี่ยอย่างง่าย

นี่คือตัวอย่างของรูปแบบขาขึ้นของดัชนี NASDAQ (USTEC) ที่เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2023 โดยราคาแตะบริเวณแนวรับแปรผัน (การรวมกันของเส้นค่าเฉลี่ย 20 และ 50 วัน) หลังจากนั้น ราคาก็กลับตัวสูงขึ้นและปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แสดงถึงตลาดขาขึ้นที่แข็งแกร่ง

รูปแบบ Bullish Engulfing ของ NASDAQ ที่ปรากฏในเดือนกรกฎาคม 2023 ตามที่แสดงบน Tradingview.com รูปแบบแท่งเทียนขาขึ้นสำหรับดัชนีมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การดีดกลับของราคาหากปรากฏใกล้กับระดับแนวรับที่แข็งแกร่ง

รูปแบบ Bullish Engulfing ของ NASDAQ มีลักษณะคล้ายกับตัวอย่างนี้ หลังจากขาลงในวันแรก ตลาดเปิดสูงขึ้นและปิดสูงขึ้นอย่างมากจากราคาปิดในวันก่อนหน้า การติดตามสัญญาณขาขึ้นที่แข็งแกร่งนี้หรือรูปแบบขาขึ้นต่อเนื่องอาจช่วยให้คุณสามารถเปิดสถานะในวันหลังจากเกิดรูปแบบครบถ้วนได้

รูปแบบความต่อเนื่องของ Bullish Engulfing ของ NASDAQ ในเดือนกรกฎาคม 2023 ตามที่แสดงบน Tradingview.com รูปแบบประเภทนี้เป็นหนึ่งในรูปแบบแท่งเทียนขาขึ้นจำนวนมาก

รูปแบบ Bearish Engulfing

รูปแบบ Bearish Engulfing แสดงถึงการกลับตัวจากขาขึ้น มีสามเรื่องสำคัญที่คุณต้องทราบเกี่ยวกับรูปแบบนี้คือ

  • แท่งเทียนแรกของรูปแบบนี้เป็นแท่งเทียนขาขึ้น (Upward) ซึ่งแสดงว่าผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดทิศทาง
  • แท่งเทียนแท่งที่สองของรูปแบบนี้คือแท่งเทียนขาลง (Downward) ที่ปกคลุมหรือ "กลืน" แท่งเทียนขาขึ้นแท่งก่อนหน้าทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าราคาเปิดอยู่สูงกว่าจุดสูงสุดของแท่งเทียนแรกและปิดต่ำกว่าจุดต่ำสุดของแท่งเทียนแรก
  • รูปแบบนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นของตลาดจากขาขึ้นเป็นขาลง เนื่องจากในตลาดมีจำนวนผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณการสิ้นสุดของแนวโน้มขาขึ้นและการเริ่มต้นแนวโน้มขาลง

นี่คือตัวอย่างของรูปแบบ Bearish Engulfing ของดัชนีหุ้นออสเตรเลีย AUS200 ที่เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2023 โดยราคาปรับตัวขึ้นมาเหนือบริเวณแนวต้าน (ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ย 20 และ 50 วัน) แต่ตกลงมาอย่างรวดเร็วจาก 7,200 เป็น 7,000 ดอลลาร์เนื่องจากรูปแบบขาลง

รูปแบบ Bearish Engulfing ของ AUS200 ในเดือนกรกฎาคม 2023 ตามที่แสดงบน Tradingview.com

รูปแบบแท่งเทียน Doji

Doji เป็นรูปแบบแท่งเทียนที่แสดงความไม่แน่นอนของตลาด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราคาเปิดและราคาปิดใกล้กันมากหรือเท่ากัน ส่งผลให้ตัวแท่งเทียนเล็กมากหรือไม่มีเลย โดยมีไส้เทียนยาวทั้งด้านบนและด้านล่าง Doji อาจเป็นสัญญาณการกลับตัวหรือความต่อเนื่องของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของกราฟ

สำหรับดัชนีหุ้น ควรใช้รูปแบบ Doji บนกรอบเวลาที่สั้นกว่ากราฟรายวัน อย่างไรก็ตาม กราฟรายวันยังคงมีรูปแบบแท่งเทียนที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก

เรามาดูการใช้ Doji บนกราฟ 4 ชั่วโมงกัน

ตัวอย่างรูปแบบ Doji บนดัชนี Nikkei (JP225) ในเดือนพฤษภาคม 2023 หลังจากแสดงรูปแบบ Doji หลายครั้ง ตลาดยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับแนวโน้มก่อนหน้า ดังนั้นในกรณีนี้ รูปแบบดังกล่าวแสดงถึงความต่อเนื่องของแนวโน้ม

รูปแบบแท่งเทียน Doji ของ JP225 ในเดือนพฤษภาคม 2023 ตามที่แสดงบน Tradingview.com

รูปแบบแท่งเทียน Hammer

รูปแบบ Hammer เป็นสัญญาณการกลับตัวขาขึ้น โดยมีลักษณะเป็นตัวแท่งเทียนขนาดเล็กใกล้กับจุดสูงสุดขอแท่งเทียนและมีไส้เทียนยาวต่ำลงมา Hammer มักปรากฏหลังจากแนวโน้มขาลง และแสดงให้เห็นว่าผู้ซื้อกำลังเริ่มมีอำนาจควบคุมทิศทาง และอาจเป็นสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มขาขึ้น (Bullish - ปรับตัวขึ้น) รูปแบบ Hammer มักถูกเรียกว่า "Pin Bar" และมักใช้ในการเทรดหุ้นและดัชนีเพื่อระบุรูปแบบการกลับตัวขาขึ้น

ตัวอย่างเช่น รูปแบบ Hammer แสดงขึ้นในดัชนีฮั่งเส็ง (HK50) หลังจากปรับตัวลงในเดือนสิงหาคม 2023 หลังจากราคาแตะจุดต่ำสุดใหม่ที่ราว 19,000 ดอลลาร์ ผู้ซื้อเข้ามาเป็นผู้ควบคุมทิศทางและสิ้นสุดวันด้วยการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย เกิดเป็นรูปแบบ Hammer

ในทางตรงกันข้าม Hammer แบบกลับหัวเป็นรูปแบบแท่งเทียนขาลง ซึ่งปรากฏที่ด้านบนของแนวโน้ม Hammer แบบกลับหัว แสดงให้เห็นว่าผู้ขายกำลังจะเป็นผู้ควบคุมทิศทางและผลักดันแนวโน้มให้เป็นขาลง

รูปแบบแท่งเทียน Hammer ที่แสดงรูปแบบการกลับตัวขาขึ้นของ HK50 ในเดือนสิงหาคม 2023 ตามที่แสดงบน Tradingview.com

รูปแบบ Shooting Star

รูปแบบ Shooting Star เป็นสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มขาลง ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปค้อนแบบกลับหัวที่มีตัวแท่งเทียนขนาดเล็กใกล้กับด้านล่างของแท่งเทียนและมีไส้เทียนยาวขึ้นไป รูปแบบนี้อาจแสดงให้เห็นว่าผู้ขายกำลังจะมีอำนาจควบคุมและแรงขายที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ราคาปรับตัวลง

ในเดือนกันยายน 2023 รูปแบบนี้เกิดขึ้นในดัชนี UK100 (FTSE100) หลังจากราคาแตะจุดสูงสุดใหม่ ผู้ขายมีจำนวนมากกว่าผู้ซื้อ และปรับตัวลงเมื่อสิ้นสุดวัน เกิดรูปแบบ Shooting Star หลังจากนั้น ราคาก็ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน

รูปแบบแท่งเทียน Shooting Star ของดัชนี UK100 ในเดือนกันยายน 2023 ตามที่แสดงบน Tradingview.com

รูปแบบแท่งเทียน Dark Cloud Cover

รูปแบบแท่งเทียนอีกประเภทหนึ่งที่พบค่อนข้างบ่อยในการเทรดหุ้นรายตัวและสามารถใช้กับดัชนีได้เช่นกันคือรูปแบบ Dark Cloud Cover ซึ่งถือเป็นรูปแบบการกลับตัวขาลง รูปแบบนี้เป็นอีกลักษณะหนึ่งของ "Bull Trap" อำนาจควบคุมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากผู้ซื้อเป็นผู้ขาย และผู้ซื้อต้องยอมทำตาม

รูปแบบ Dark Cloud Cover แสดงการเคลื่อนไหวกลับตัวเป็นขาลงของราคา ในสถานการณ์นี้ แท่งเทียนลง (โดยปกติจะเป็นสีดำหรือแดง) เปิดสูงกว่าราคาสุดท้ายซึ่งเป็นราคาปิดของแท่งเทียนขึ้นก่อนหน้า (โดยปกติจะเป็นสีขาวหรือสีเขียว) และต่อมา ปิดต่ำกว่าจุดกลางของแท่งเทียนขึ้น ดูตัวอย่างลักษณะของการกลับตัวขาลงด้านล่าง

ลักษณะของรูปแบบ Dark Cloud Cover ที่มีการกลับตัวขาลงของดัชนี HK50 ในวันที่ 19 มิถุนายน 2023 ตามที่แสดงบน Tradingview.com

รูปแบบนี้คล้ายกับรูปแบบ Engulfing แต่แท่งเทียนสีแดงไม่ปิดต่ำกว่าราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้า (ลักษณะเดียวกับรูปแบบ Engulfing) แต่ปิดต่ำกว่าระดับของแท่งเทียนก่อนหน้า 50% ซึ่งเพียงพอจะสร้างแรงขายและทำให้ราคาเคลื่อนไหวต่ำลง

ข้อดีและข้อเสียของแท่งเทียน

รูปแบบแท่งเทียนซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบกราฟที่เทรดเดอร์ใช้กันมากที่สุด ช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับทิศทางที่เป็นไปได้ของตลาด อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับเครื่องมือการเทรดทั้งหมด รูปแบบแท่งเทียนมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง เรามาศึกษาข้อดีและข้อเสียของรูปแบบแท่งเทียนเพื่อช่วยให้เข้าใจการคาดการณ์แนวโน้มตลาดด้วยเครื่องมือนี้ได้ดียิ่งขึ้น

ข้อดีของการเทรดด้วยรูปแบบแท่งเทียน

  • รูปแบบแท่งเทียนสามารถเข้าใจและใช้งานได้ค่อนข้างง่ายสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ หากฝึกฝน แทบทุกคนก็สามารถเรียนรู้เพื่อทำความรู้จัก "รูปแบบ Engulfing" หรือ "Pin Bar" ได้
  • รูปแบบแท่งเทียนไม่ได้ใช้ข้อมูลในอดีตที่นานเกินไป การมุ่งความสนใจไปที่ช่วงเวลาปัจจุบันทำให้เครื่องมือนี้เป็นประโยชน์ในการจับจังหวะการเข้าและออกเทรด
  • เทอร์มินัลการซื้อขายทั้งหมดสามารถใช้รูปแบบแท่งเทียนได้ ไม่ว่าคุณจะใช้แพลตฟอร์มใด คุณก็จะยังคงสามารถใช้กราฟแท่งเทียนได้

ข้อเสียของการเทรดด้วยรูปแบบแท่งเทียน

  • โบรกเกอร์แต่ละรายอาจมีราคาเปิดและปิดของแท่งเทียนรายวันแตกต่างกันไป จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เทรดเดอร์ที่กำหนดจุดเข้าเทรดด้วยข้อมูลของโบรกเกอร์รายหนึ่ง อาจพลาดสัญญาณนี้จากโบรกเกอร์อีกรายหนึ่ง
  • รูปแบบแท่งเทียนไม่ให้ข้อมูลสภาพตลาด โดยควรใช้ร่วมกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ เช่น บริเวณแนวรับและแนวต้าน ดังนั้น จึงควรใช้รูปแบบแท่งเทียนเป็นเครื่องมือเสริม ไม่ใช่กลไกหลักในการตัดสินใจ
  • ความเรียบง่ายของรูปแบบแท่งเทียนอาจหลอกตา บางครั้ง แนวโน้มที่แข็งแกร่งอาจสร้างรูปแบบการกลับตัวที่ไม่ถูกต้องจำนวนมาก เทรดเดอร์จึงควรเรียนรู้วิธีการกรองสัญญาณหลอกเหล่านั้น

คำถามที่พบบ่อย

แบบจำลองที่สร้างจากรูปแบบแท่งเทียนซึ่งสร้างกำไรได้มากที่สุดอาจเป็นรูปแบบที่แสดงถึงการกลับตัวของราคา คือรูปแบบ Engulfing, Pin Bar, Shooting Star อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เทรดเดอร์ควรมีเครื่องมือที่น่าเชื่อถือในการระบุบริเวณราคาที่อาจมีการกลับตัวของแนวโน้ม

รูปแบบแท่งเทียนนั้นขึ้นอยู่กับกรอบเวลา โดยกรอบเวลายิ่งสั้น เทรดเดอร์ก็จะได้รับสัญญาณรบกวนทางสถิติมาก กรอบเวลาที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับการวิเคราะห์รูปแบบแท่งเทียนคือกราฟรายวันและรายชั่วโมงต่อชั่วโมง และควรประเมินความน่าเชื่อถือร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ แต่โดยปกติแล้ว รูปแบบแท่งเทียนจะให้จุดเข้าและออกเทรดที่ถูกต้อง และส่วนใหญ่มีความแม่นยำพอสมควร

ขอแนะนำให้ใช้เครื่องมือและอินดิเคเตอร์อื่นๆ เพื่อสร้างและกำหนดไอเดียการเทรด รูปแบบแท่งเทียนอาจช่วยกำหนดจุดเข้าเทรดที่เหมาะสมให้กับแนวคิดนี้ แต่ไม่แนะนำให้ตัดสินใจเทรดด้วยรูปแบบแท่งเทียนเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานเพิ่มเติม

กราฟแท่งเทียนเป็นกราฟทางการเงินประเภทหนึ่งที่แสดงจุดสูงสุด จุดต่ำสุด ราคาเปิดและราคาปิดของหลักทรัพย์ในช่วงเวลาหนึ่ง กราฟนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อศึกษาแนวโน้มและรูปแบบของราคา

ส่วนประกอบหลักของกราฟแท่งเทียนคือแท่งเทียน ซึ่งประกอบด้วยตัวแท่งเทียนและไส้เทียน หรือที่เรียกว่าเงา ตัวของแท่งเทียนแสดงช่วงระหว่างราคาเปิดและราคาปิด หากราคาสุดท้ายก่อนปิดสูงกว่าราคาเปิด แท่งเทียนจะเต็มหรือเติมสี ซึ่งแสดงถึงช่วงเวลาขาขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากราคาปิดสูงกว่าราคาสุดท้ายก่อนปิด ตัวแท่งเทียนจะเป็นโพรงหรือมีสีอื่น แสดงถึงช่วงเวลาขาลง ขณะที่ไส้เทียนแสดงช่วงการเคลื่อนไหวของราคาเหนือราคาปิดและราคาเปิด

การอ่านกราฟแท่งเทียนเป็นการแยกแยะรูปแบบขาขึ้นและขาลงที่เป็นสัญญาณบ่งบอกการเคลื่อนไหวของราคาที่อาจเกิดขึ้น รูปแบบขาขึ้นแสดงว่าราคาอาจปรับตัวขึ้น ขณะที่รูปแบบขาลงแสดงว่าราคาอาจปรับตัวลง ตัวอย่างเช่น รูปแบบขาขึ้นที่พบบ่อยคือรูปแบบ "Bullish Engulfing" ซึ่งเป็นแท่งเทียนขาลงขนาดเล็กตามด้วยแท่งเทียนขาขึ้นขนาดใหญ่ แสดงถึงโอกาสการกลับตัวของแนวโน้มขาลง

การใช้กราฟแท่งเทียนช่วยให้นักลงทุนมีโอกาสมากขึ้นในการตีความความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างราคาปิด ราคาเปิด จุดสูงสุด และจุดต่ำจุด กราฟเหล่านี้ให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับสภาวะอารมณ์ของเทรดเดอร์และโอกาสในการกลับตัวของตลาด กราฟแท่งเทียนสามารถใช้ได้ทุกกรอบเวลา ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาวหรือผู้ที่ใช้กลยุทธ์สวิงเทรดหรือการเทรดรายวัน ข้อได้เปรียบของกราฟแท่งเทียนคือสามารถแสดงกระบวนการปรับตัวขึ้นและลงให้เห็นเป็นภาพได้อย่างชัดเจน

แท่งเทียนขาขึ้นที่มักแสดงบนกราฟแท่งเทียนจะเป็นสีเขียวหรือสีขาว ซึ่งหมายความว่าราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด แสดงถึงการปรับตัวขึ้นของราคา ในทางตรงกันข้าม แท่งเทียนขาลงมักแสดงเป็นแท่งเทียนสีดำหรือสีแดง สีนี้ใช้เพื่อบ่งบอกว่าราคาสุดท้ายก่อนปิดการซื้อขายต่ำกว่าราคาเปิด แสดงถึงการปรับตัวลงของราคา สีที่พบบ่อยที่สุดในกราฟแท่งเทียนคือสีขาวสำหรับขาขึ้นและสีดำสำหรับขาลง แท่งเทียนขาขึ้นสามารถใช้ระบุการกลับตัวของแนวโน้มจากตลาดขาลงก่อนหน้าเป็นตลาดขาขึ้น โดยสรุปคือแท่งเทียนขาลงหรือแท่งเทียนสีแดงจะแสดงว่าราคาปรับตัวลง ส่วนแท่งเทียนขาขึ้น ซึ่งมักเป็นสีเขียวหรือสีขาว จะแสดงว่าราคาปรับตัวขึ้น

กราฟแท่งเทียนสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเทรด การศึกษาข้อมูลในอดีตและแยกแยะรูปแบบขาขึ้นและขาลงต่างๆ จะทำให้คุณมีข้อมูลในการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยเป็นแนวทางในการตัดสินใจเทรด

รูปแบบ Shooting Star ประกอบด้วยแท่งเทียนเพียงแท่งเดียวที่มีตัวแท่งเทียนขนาดเล็กและไส้เทียนยาว ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็ว ขณะที่รูปแบบ Morning Star เป็นชุดแท่งเทียนสามแท่ง โดยมีแท่งเทียนแท่งกลับตัวขนาดเล็กอยู่ตรงกลางและมีแท่งเทียนใหญ่สองแท่งขนาบทั้งสองข้าง ส่วน Evening Star คล้ายกับ Morning Star ที่ประกอบด้วยแท่งเทียนสามแท่ง แต่ Evening Star จะแสดงถึงรูปแบบการกลับตัวขาลง แตกต่างจากรูปแบบการกลับตัวขาขึ้นอย่าง Morning Star

แท่งเทียนแท่งแรกของรูปแบบ Evening Star เป็นแท่งเทียนขาขึ้นยาว ตามด้วยแท่งเทียนขนาดเล็กที่เปิดเหนือแท่งก่อนหน้า แล้วตามด้วยแท่งเทียนขาลงขนาดใหญ่แท่งสุดท้ายที่ใหญ่กว่าขนาดของแท่งเทียนแท่งแรก ดังนั้น ทั้ง Morning Star และ Evening Star อาจเป็นรูปแบบที่ซับซ้อนกว่าและสามารถใช้ระบุการกลับตัวระยะยาวได้

กฎแท่งเทียนสามแท่ง (Three-candle Rule) หมายถึงรูปแบบแท่งเทียนสามแท่งบนกราฟแท่งเทียน กฎนี้ใช้เพื่อคาดการณ์การกลับตัวของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในตลาดเมื่อศึกษากราฟแท่งเทียน รูปแบบกราฟอื่นๆ ยังมีแท่งเทียนสามแท่งด้วย เช่น "Three White Soldiers", "Morning Star" และ "Three Black Crows" บางรูปแบบถือเป็นรูปแบบความต่อเนื่อง ("Three White Soldiers" และ "Three Black Rows") ส่วนรูปแบบอื่นๆ อย่างกฎแท่งเทียนสามแท่ง เป็นรูปแบบการกลับตัว

หลักการทำงานของรูปแบบแท่งเทียนสามแท่งคือ แท่งเทียนแท่งที่สองในชุดจะมีขนาดเล็กกว่าแท่งเทียนแท่งแรก แสดงถึงโมเมนตัมที่ชะลอตัวลงและราคาหยุดเคลื่อนไหว ส่วนแท่งเทียนแท่งที่สามแสดงการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามและมักปิดเหนือราคาปิดของแท่งเทียนแท่งที่สองสำหรับการกลับตัวขาขึ้น หรือต่ำกว่าราคาปิดของแท่งเทียนแท่งที่สองสำหรับการกลับตัวขาลง

พร้อมใช้ประโยชน์จากรูปแบบแท่งเทียนในการเทรดดัชนีหรือยัง

โดยสรุปแล้ว รูปแบบแท่งเทียนถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการเทรดดัชนี โดยสามารถใช้รูปแบบเหล่านี้ในการเทรดสินทรัพย์ทุกประเภทเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นในการตัดสินใจ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเชิงลึก แต่ก็มีประสิทธิภาพในการเน้นให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นในระยะสั้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

อย่างไรก็ตาม ควรทราบว่ารูปแบบแท่งเทียนไม่ใช่สัญญาณเทรดที่ใช้เดี่ยวๆ ได้ เทรดเดอร์ควรใช้เครื่องมือนี้ในบริบทของโครงสร้างตลาดที่มีอยู่เสมอ เช่น การติดตามรูปแบบแท่งเทียนที่กลับตัวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในบริเวณใกล้กับแนวรับหรือแนวต้านที่สำคัญ

Exness ให้บริการบัญชีหลายประเภทที่เหมาะกับการเทรดดัชนี หลักการง่ายๆ คือการเลือกบัญชีที่ไม่มีค่าสว็อปสำหรับสวิงเทรดหรือการเทรดระยะยาว และประเภทอื่นๆ สำหรับการเทรดรายวัน

ตอนนี้ คุณเข้าใจความสำคัญและวิธีการใช้งานรูปแบบแท่งเทียนแล้ว ก็ได้เวลานำความรู้ของคุณไปฝึกฝน พร้อมรับประโยชน์มากมายจากการใช้รูปแบบแท่งเทียนในกลยุทธ์การเทรดของคุณแล้วหรือยัง เริ่มเทรดดัชนีกับ Exness เลยวันนี้

แชร์


เริ่มเทรดเลย

ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ